
ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเซียเป็นผลทำให้เพิ่มความต้องการบริโภครังนกแอ่นมากขึ้น ยังไม่มีเสน่ห์ของซุปชนิดอื่นมาแทนที่ซุปรังนกแอ่นได้ ดังนั้นความต้องการบริโภครังนกแอ่นจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนในช่วงปี 1930 รังนกแอ่นธรรมชาติถูกเก็บเกี่ยวอย่างรวดเร็ว จนทำให้ประชากรนกแอ่นลดลงอย่างมาก ปี 1950 ยิ่งลดจำนวนลงอีก ปี 1990 ยิ่งเหลือน้อยลง หลังจากนั้นผู้ได้รับสัมปทานการเก็บรังนกแอ่นเริ่มตระหนัก จึงได้ลดการเก็บเกี่ยวลงเพื่อให้นกแอ่นได้มีช่วงเวลาขยายพันธุ์บ้าง
ประเทศจีนเป็นผู้ซื้อรังนกแอ่นมากที่สุดจากประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย และ ประเทศมาเลเซีย แต่ปริมาณของอุปทานไม่สามารถสนองตอบต่อปริมาณอุปสงค์ได้แม้จะใช้เวลาอีก 10 ปีก็ตาม
การทำบ้านนกแอ่นจึงเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่จะเพิ่มปริมาณประชากรนกแอ่น และ เพิ่มผลผลิตรังนกแอ่นเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภครังนกแอ่นที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย เป็นการอนุรักษ์พันธุ์นกแอ่นไม่ให้สูญพันธุ์ ผู้ทำบ้านนกแอ่นจะเก็บรังนกแอ่นเมื่อลูกนกแอ่นโตและบินได้แล้วเท่านั้น
การทำบ้านนกแอ่นที่ออกแบบอย่างถูกวิธี ตรงตามความต้องการและความชื่นชอบของนกแอ่น เช่น เสียงเรียกนก (Swiftlet Chirp) เครื่องทำความชื้น (Humidifier) ไม้ตีรัง (Nesting Plank) ย่อมประสบความสำเร็จได้ การทำบ้านนกแอ่นจึงถือเป็นธุรกิจอย่างหนึ่ง และเป็นธุรกิจที่มีอนาคตยิ่ง ความเสี่ยงเป็นธรรมชาติของทุกธุรกิจ ดังนั้นท่านจึงต้องเรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงด้วยตัวท่านเอง
นำเสนอโดย เทพชัย อริยะพันธุ์
No comments:
Post a Comment