Tuesday, November 11, 2008

ความมืดภายในบ้านนกแอ่น : ควรมืดขนาดไหนดี?

การทำบ้านนกแอ่น ความมืดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่มีผลต่อความรู้สึกของนกแอ่น นกแอ่นรู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่ในที่มืด เพราะความมืดทำให้ศัตรูมองไม่เห็นรังที่อยู่ของเขา การทำบ้านนกแอ่นคือการเรียนแบบจากสภาพของถ้ำนกแอ่น บ้านนกแอ่นควรมีความมืดใกล้เคียงกับถ้ำนกแอ่น เรามักจะได้ยินการพูดถึงค่าความมืดเป็นหน่วย "ลักซ์" (Lux) ตำราเกี่ยวกับบ้านนกแอ่นหลายเล่มมักกล่าวถึงค่าความมืดที่บ้านนกแอ่นควรจะทำให้ได้ คือ ประมาณ 2 - 3 ลักซ์

ค่าความมืดประมาณ 2 - 3 ลักซ์ ถ้าท่านไม่มีเครื่องวัดแสงท่านจะประมาณได้อย่างไร? เอาง่ายๆแบบประหยัดแบบไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องวัดแสงมาวัด เพราะซื้อมาแล้วก็เอามาเก็บ ไม่ได้วัดทุกวัน ใช้ไม่คุ้มค่าเกินความจำเป็น ให้ท่านทำดังนี้ ท่านวางกระดาษขาวขนาด A4 ลงบนพื้นห้องของบ้านนกแอ่นที่ท่านจะวัดความมืด หากมองไม่เห็นกระดาษขาวA4 ก็แสดงว่า บ้านนกแอ่นของท่านมืดสนิท หากเห็นเพียงรางๆก็แสดงว่าบ้านนกแอ่นของท่านมีค่าของความมืดประมาณ 2 - 6 ลักซ์ จะมืดหรือสว่างก็อยู่ที่การปิดกั้นแสงของท่านว่าทำได้ดีขนาดไหน

สำหรับท่านที่มีโอกาสได้เข้าเยี่ยมชมบ้านนกแอ่นหลายๆแห่งถือเป็นผู้ที่มีโอกาสดีเยี่ยม การเข้าดูภายในบ้านนกแอ่นหลายๆแห่ง คือการเรียนรู้ที่ดีที่สุด ท่านสามารถเห็นความแตกต่างของบ้านนกแอ่นแต่ละหลัง บางบ้านความมืดไม่มากแต่นกแอ่นอยู่อาศัยและทำรังมากมาย บางบ้านความมืดดีมาก 2 - 3 ลักซ์พอดี แต่มีนกอยู่อาศัยและทำรังน้อย อะไรคือความถูกต้องในเรื่องของแสงสว่างและความมืด

การทำบ้านนกแอ่นให้ได้ความมืดที่เหมาะสม จึงขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ ขึ้นอยู่กับบ้านนกแอ่นหลังแรกๆในพื้นที่นั้นว่ามีสภาพความมืดภายในบ้านเป็นอย่างไร หากเราจะแบ่งลูกนกแอ่นจากเขา เราก็ควรทำบ้านนกแอ่นของเราให้มีความมืดเหมือนเขา ถ้าทำไม่ได้ก็ยากที่จะได้ลูกนกแอ่นจากเขา เราจึงเห็นว่าบางบ้านนกแอ่นสำเร็จในเวลาอันรวดเร็ว บางบ้านนกแอ่นใช้เวลาเป็นปีๆกว่าจะสำเร็จ นี่เพียงแค่ปัญหาเรื่องแสงสว่างและความมืดเท่านั้น หากนำเรื่องอื่นๆ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ช่องทางเข้า-ออก วงบิน เสียงเรียกนก ฯลฯ มาหาข้อยุติทีละเรื่อง ก็มีให้คิดอีกมากมาย ผู้ที่ทำบ้านนกแอ่นใหม่ๆยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ ย่อมมีโอกาสที่จะล้มเหลวได้ง่าย การหาข้อมูลอย่างรอบคอบรอบด้านของแต่ละพื้นที่จึงสำคัญยิ่ง เป็นข้อมูลของความสำเร็จของท่านเอง

เราจะเห็นว่าผู้ที่เคยทำบ้านนกแอ่นสำเร็จสูงสุดแล้วในพื้นที่หนึ่ง พอไปทำบ้านนกแอ่นในอีกพื้นที่หนึ่ง โดยลอกแบบ 100% จากบ้านนกแอ่นหลังเดิมไปทำ กลับพบกับความล้มเหลว

คนหรือนกแอ่นก็เหมือนกัน หากอยู่ในสภาพเดิมที่เคยชินเป็นเวลานาน อยู่ๆให้ท่านต้องมาเปลี่ยนความคุ้นเคยเดิมๆ ท่านก็ไม่ชอบแน่นอน นกแอ่นก็เช่นกัน ชอบความคุ้นเคยแบบเดิมๆ ดังนั้นการทำบ้านนกแอ่นให้ประสบความสำเร็จ เรื่องแสงสว่างและความมืดภายในบ้านนกแอ่น จึงควรทำแบบผสมไว้ คือส่วนที่มืดที่สุดก็มี อยู่ลึกเข้าไปในสุดของตัวบ้านหรือบินมุดลงชั้นล่างๆ ส่วนที่สว่างก็มีอยู่ใกล้ๆช่องทางเข้า-ออก ส่วนที่สลัวๆก็มีอยู่กลางๆห้องถัดจากช่องทางเข้า-ออก หากท่านทำได้ดังนี้ท่านจะผิดพลาดน้อย นกแอ่นชอบแบบไหนเขาจะได้เลือกจุดทำรังตามใจเขา

นำเสนอโดย เทพชัย อริยะพันธุ์

No comments:

แนะนำแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดยะลา

แนะนำแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดยะลา
ยะลา หรือ ยะลอ แปลว่า "แห" เดิมเป็นหนึ่งในเจ็ดหัวเมืองตอนใต้ ขึ้นอยู่กับมณฑลปัตตานี ต่อมาได้ประกาศเป็นจังหวัด ตามระเบียบบริหารการปกครองใหม่เมื่อปี 2476 ปัจจุบันจังหวัดยะลามีพื้นที่ 4,521.077 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น 8 อำเภอ 58 ตำบล 376 หมู่บ้าน มีอำเภอเมือง อำเภอรามัน อำเภอยะหา อำเภอบันนังสตา อำเภอเบตง อำเภอธารโต อำเภอกาบัง และอำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลาตั้งอยู่ตอนใต้สุดของประเทศไทย ดั่งคำขวัญที่ว่า "ยะลา : ใต้สุดสยามเมืองงามชายแดน" อยู่ห่างจากกรุงเทพฯโดยทางรถไฟประมาณ 1,039 กิโลเมตร หรือโดยทางรถยนต์ตามถนนเพชรเกษมประมาณ 1,440 กิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีผังเมืองสวยงามแห่งหนึ่งของประเทศไทย

หลักเมืองยะลา

หลักเมืองยะลา
หลักเมืองยะลาสร้างขึ้นจากแนวความคิดของ พ.ต.อ.ศิริ คชหิรัญ ครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดยะลาร่วมกับบรรดาข้าราชการซึ่งมีความเห็นตรงกันว่าเดิมจังหวัดยะลาเป็นอาณาเขตหนึ่งในบริเวณ 7 หัวเมือง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดปัตตานี เพิ่งแยกออกเป็นเมืองหนึ่งต่างหากในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (ในสมัยรัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2335) ที่ตั้งตัวเมืองยะลาเดิมมิได้อยู่ในที่ปัจจุบัน แต่ได้โยกย้ายมาแล้วถึง 4 ครั้งด้วยกัน ด้วยเหตุดังกล่าวท่านจึงให้ข้าราชการและประชาชนชาวจังหวัดยะลาได้พร้อมใจกันสร้างหลักเมืองขึ้นที่บริเวณศูนย์วงเวียนหน้าศาลากลางจังหวัดโดยมีพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 เวลา 10.30 น. ปัจจุบันหลักเมืองยะลาเป็นศูนย์กลางของเมืองยะลา ทั้งนี้เนื่องจากผังเมืองยะลาได้ออกแบบไว้เหมาะเจาะกันพอดีรอบๆวงเวียนหลักเมือง อันเป็นวงเวียนชั้นในสุดเป็นที่ทำการของส่วนราชการต่างๆ ได้แก่ ศาลากลางจังหวัด ศาลจังหวัด กองกำกับการตำรวจภูธร สำนักงานที่ดิน สำนักงานเกษตร สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และที่ว่าการอำเภอเมืองยะลา บรรดาถนนทุกสายที่มาจากอำเภอต่างๆของจังหวัดจะมารวมกันที่หลักเมือง

วัดคูหาภิมุข

วัดคูหาภิมุข
ถ้ำคูหาภิมุขตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง ไปตามเส้นทางยะลา-หาดใหญ่ ประมาณ 7 กิโลเมตร และเลี้ยวซ้ายเข้าวัดอีก 1 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานปูชนียวัตถุที่สำคัญคือ พระพุทธไสยาสน์ สร้างสมัยศรีวิชัยประมาณ 1,300 ปีเศษ ภายในมีถ้ำต่างๆเช่น ถ้ำมืด ถ้ำ ภปร. มีหินงอกหินย้อย และหยดน้ำไหลรินจากโขดหินสวยงามยิ่งนัก หยดเกร็ดเพชรระยิบระยับตา ซึ่งในปี 2539 ถ้ำคูหาภิมุขได้รับรางวัลการประกวดแหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติของ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้

พระมหากัจจายนะ

พระมหากัจจายนะ
พระมหากัจจายนะ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2505 ประดิษฐานอยู่ภายในวัดเมืองยะลา อยู่กลางแจ้งภายในวัด องค์ใหญ่สวยงาม หากหมั่นทำความดีเมื่อมาขอพรจากท่านมักจะประสบความสำเร็จ อยู่ห่างจากศาลากลางไปทางถนนสุขยางค์ทางออกมุ่งสู่อำเภอเบตงประมาณ 1 กิโลเมตร อยู่ด้านขวามือตรงข้ามกับโรงเรียนตำรวจภูธร 9 (กองบัญชาการส่วนหน้า)

วัดพุทธาธิวาส

วัดพุทธาธิวาส
พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ ตั้งอยู่ ณ วัดพุทธาธิวาส ถนนรัตนกิจ ในตัวเมืองเบตง โดยตัวเจดีย์ตั้งอยู่บนเนินเขามีขนาดความกว้าง 39 เมตร สูง 39.9 เมตร หรือขนาดความสูงเทียบเท่าตึก 13 ชั้น เป็นมหาธาตุเจดีย์ที่สวยงามและขนาดใหญ่ที่สุดในภาคใต้ เป็นศิลปกรรมแบบศรีวิชัยประยุกต์ มหาเจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นจากความคิดและการดำเนินการของอดีตประธานศาลฏีกา นายสวัสดิ์ โชติพานิช เพื่อเฉลิมฉลองและถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา

เขื่อนบางลาง

เขื่อนบางลาง
เขื่อนบางลางในระหว่างการเดินทางด้วยรถยนต์จากตัวเมืองยะลาสู่อำเภอเบตง บนเส้นทางหลวงสายยะลา-เบตง สามารถแวะชมทัศนียภาพอันสวยงามของเขื่อนบางลางได้ที่บ้านบางลาง ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา ซึ่งห่างจากตัวเมืองยะลา 58 กิโลเมตร และเข้าไปในตัวเขื่อนอีกประมาณ 12.5 กิโลเมตร ตัวเขื่อนบางลางสร้างปิดกั้นแม่น้ำปัตตานี ซึ่งมีต้นน้ำอยู่ที่ทิวเขาสันกาลาคีรี สันปันน้ำระหว่างไทยกับมาเลเซียในเขตอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ด้วยฝีไม้ลายมือมนุษย์ทำให้พื้นที่บริเวณเหนือเขื่อน กลายสภาพเป็นทะเลสาปน้ำจืดกลางหุบเขาขนาดใหญ่ซึ่งล้อมรอบไปด้วยความเขียวขจีจากพันธุ์พืชพันธุ์ไม้นานาชนิดและภูเขาน้อยใหญ่ที่ทอดตัวเรียงรายสลับซับซ้อนโอบล้อมอยู่ ทิวทัศน์ที่สวยงามเช่นนี้ มีอาคารบ้านพักตากอากาศ ห้องจัดประชุม ร้านอาหาร สนามเทนนิส สนามเปตอง สนามกอล์ฟ สนามฟุตบอล แพล่องชมทัศนียภาพ ไว้บริการให้ความสะดวกแก่ผู้มาเยือน จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะเป็นทางเลือกในการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจอีกแห่งหนึ่ง นอกจากจะเหมาะต่อการท่องเที่ยวแล้วเขื่อนบางลางยังคงคุณสมบัติของเขื่อนเอนกประสงค์ตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำแห่งแรกในภาคใต้ไว้ได้เช่นเดิมคือ ช่วยในการป้องกันอุทกภัย การชลประทาน การผลิตกระแสไฟฟ้าและการประมง (สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม,ติดต่อบ้านพักโทรฯ 0-7329-9237-8, 0-7329-7099 ล่องเรือหรือแพชมทิวทัศน์ทะเลสาปเหนือเขื่อน โทรฯ 0-7328-1063-66 ต่อ 2291)

วิถีชีวิตของชาวบ้านรอบๆเมืองยะลา

วิถีชีวิตของชาวบ้านรอบๆเมืองยะลา
ยะลาเป็นเมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีธรรมชาติที่สวยงามอุดมสมบูรณ์ ผู้คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ดำเนินตามรอยพระบาทชีวิตความเป็นอยู่แบบพอเพียง มีอาหารการกินที่หลากหลายทั้ง ไทย จีน มุสลิม ผู้คนรักใคร่กลมเกลียว เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความวุ่นวายทั้งหลายที่เกิดเป็นเพียงภาพลวงตา อีกไม่นานก็จะหายไป เพราะเขาเองก็เบื่อเต็มทนแล้วเพราะตั้งแต่วันแรกที่หลงผิดชีวิตยังหาความสุขไม่ได้ จะขอกลับมาเป็นคนดีของสังคมเร็วๆนี้

อานิสงส์และบุญกุศลใดๆ

อานิสงส์ใดๆที่เกิดขึ้นจากการได้มีโอกาสเผยแพร่ข้อมูล ความรู้ ข่าวสารและวิชาการเกี่ยวกับการเลี้ยงและทำบ้านนกแอ่น ขอมอบแด่ คุณพ่อสุนันท์-คุณแม่อำนวย อริยะพันธุ์ พี่กัญญา ศรีสวัสดิ์และครอบครัว พี่ดวงพร เพชรโชติและครอบครัว น้องนิชา สุตะเมืองและครอบครัว คุณอ้อย(ภรรยา) น้องหนึ่ง(ลูกชาย) น้องฟรังก์(ลูกสาว) น้องดิว(ลูกสะใภ้) น้องพีร์(หลานชาย) ตลอดจนคณาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประศาสตร์วิชาความรู้ให้แก่ศิษย์โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ขอบุญกุศลแห่งวิทยาทานทั้งหมดที่ข้าพเจ้าได้กระทำจงมีแด่ทุกท่านที่ข้าพเจ้าได้เคยรู้จักและเกี่ยวข้อง ให้ประสพแต่ความสุข ความเจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฎิภานธนสารสมบัติทุกประการเทอญ เทพชัย อริยะพันธุ์