
วิธีที่ดีที่สุดในการคำนวณคือ ยึดถือหลักการคำนวณต่อ 1 ตารางเมตร ของไม้ตีรังแบบกล่อง ขนาด 40 ซม. x 100 ซม. เมื่อมีนกแอ่นทำรังเต็มมีรังนกแอ่นขนาดเฉลี่ย 10 ซม. จำนวน 100 รัง
ตัวอย่าง: หากเนื้อที่พื้นที่ทั้งหมดของบ้านนกแอ่นของท่านเท่ากับ 280 ตารางเมตร หักพื้นที่ส่วนที่เป็นบันได ช่องทางลงของนก ห้องควบคุมเสียงและเก็บของ และพื้นที่บริเวณช่องทางเข้า-ออก ตีเป็นพื้นที่ที่ต้องเสียไปประมาณ 10% ดังนั้นท่านจะเหลือพื้นที่จริงๆประมาณ 250 ตารางเมตร
พื้นที่ 250 ตร.ม. x จำนวนรังนกแอ่น 100 รัง/1 ตร.ม.= 250 x 100 = 25,000 รัง/1 ช่วงการเก็บเกี่ยว
ดังนั้นจำนวนนกแอ่นที่ท่านบ้านนกแอ่นของท่านสามารถรองรับ = 25,000 x 2 = 50,000 ตัว (2 คือ นก 2 ตัว ช่วยกันทำรัง 1 รัง)
เมื่อท่านทราบจำนวนนกแอ่นที่บ้านนกแอ่นของท่านสามารถรองรับได้ ท่านก็สามารถตรวจสอบขีดความสามารถในการเพิ่มขึ้นของจำนวนรังนกแอ่นในแต่ละเดือน เพิ่มขึ้นเฉลี่ยกี่ % ต่อเดือน ทำให้ท่านสามารถคำนวณได้ว่าจำนวนนกแอ่นจะถึง 50,000 ตัว หรือได้รังนกแอ่นถึง 25,000 รัง ในอีกกี่ปี การที่ท่านสามารถทราบจำนวนนกแอ่นที่บ้านนกแอ่นของท่านสามารถรองรับได้ ทำให้ท่านสามารถวางแผนอนาคตของบ้านนกแอ่นของท่านได้ การรู้อะไรล่วงหน้าบ้างย่อมดีกว่าการรอให้ถึงเวลาแล้วค่อยมาคิดมาทำต่ออย่างแน่นอน
นำเสนอโดย เทพชัย อริยะพันธุ์
No comments:
Post a Comment