หลายๆท่านฝันที่จะมีบ้านนกแอ่นเป็นของตนเองสักหลัง แต่คิดแล้วคิดอีกก็ยังไม่สำเร็จสักที มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ไม่สามารถทำให้ฝันเป็นจริงได้ การซื้อบ้านซักหลังต้องใช้เงินลงทุนมาก จะเอาบ้านที่อยู่เองให้นกอยู่แล้วตัวเองจะไปอยู่ที่ไหน หรืออยู่ด้วยกัน นกอยู่ข้างบนฉันอยู่ข้างล่าง กู้ธนาคารก็กลัวเป็นหนี้ ไม่รู้ทำแล้วจะสำเร็จหรือเปล่า กลัวๆกล้าๆอยู่นั่นแหละ เพื่อนบ้านที่อยู่ข้างเคียงจะบ่นรำคาญเสียงเรียกนกหรือเปล่า ฯลฯ คิด คิด คิด ไม่คิดดีกว่า
สำหรับท่านที่ตัดสินใจยกบ้านให้นกแอ่นอยู่ จะเป็นบ้านเดี่ยว บ้านห้องแถวหรืออาคารพาณิชย์ก็ดี ในหัวข้อนี้จะยังไม่กล่าวถึงบ้านนกแอ่นแบบอาคารเฉพาะ ตึกนกแอ่น หรือ คอนโดนกแอ่น เพราะอาคารเฉพาะง่ายต่อการออกแบบ การกำหนดรายละเอียดต่างๆ การดัดแปลงอาคารบ้านเรือนให้เป็นบ้านนกแอ่นถูกบังคังด้วยโครงสร้างเดิมของบ้าน เช่น ด้านหน้าบ้านติดถนนที่จอแจ มีรถพลุกพล่าน ด้านหลังบ้านเป็นตรอกเล็กๆมีเนื้อที่แคบๆและชนกับหลังบ้านของคนอื่น ด้านข้างทั้ง 2 ด้านก็เป็นบ้านคน ถ้าเจอปัญหาเช่นนี้ ถึงแม้บ้านที่จะดัดแปลงเป็นบ้านนกแอ่นจะอยู่ในทำเลที่ดีแล้ว ก็เป็นอุปสรรคในการดัดแปลง ทำให้การทำทางเข้า-ออกของนก Entrance Hole หรือ In - Out Hole ต้องต่อเติม ดัดแปลง ให้เข้าทางหลังคาด้านบน(ดังรูปซ้ายล่าง) ถ้าเป็นบ้านหัวมุมถนน หรือ บ้านเดี่ยวจะง่ายต่อการดัดแปลง(รูปขวาล่างและรูปบน)
การดัดแปลงอาคารบ้านเรือนเป็นบ้านนกแอ่นคือการทำให้บ้านที่ดัดแปลงมีสภาพใกล้เคียงกับสภาพภายในถ้ำที่นกแอ่นอาศัยอยู่ตามธรรมชาติมากที่สุด การดัดแปลงที่สำคัญมีดังนี้:-
1. ปิดช่องที่แสงสว่างสามารถเข้าได้ทั้งหมด เช่น ช่องหน้าต่าง ช่องลม ช่องกระจก ยกเว้นช่องที่จะกำหนดเป็นช่องทางเข้า-ออกของนก และช่องระบายอากาศชนิดที่แสงสว่างเข้าไม่ได้
2. ตีรังไม้สำหรับนกแอ่นเกาะและทำรัง โดยใช้ไม้หนา 1 นิ้ว กว้าง 6 - 8 นิ้ว ยาวตามความกว้างของอาคาร ยึดให้แข็งแรงตั้งฉากกับเพดาน เซาะร่องบนไม้ขนาดเล็กกว้าง 2 มิลฯ ลึก 2 มิลฯ 3 -4 ร่อง ห่างกันร่องละ 1 นิ้ว โดยเริ่มจากด้านล่าง ด้านที่ไม่ติดกับเพดาน รังไม้แต่ละแถวห่างกัน 30-40 เซนติเมตร
3. ติดตั้งรางน้ำขนาดพอเหมาะรอบๆห้องเพื่อปรับอุณหภูมิของห้องให้ได้หรือใกล้เคียง 28 องศาเซนเซียส หรือติดตั้งพัดลมขนาดเล็กเพื่อเป่าน้ำในรางอีกก็ได้
4. ติดตั้งเครื่องทำความชื้น Humidifier เพื่อเพิ่มความชื้นให้ได้ประมาณ 75%-85%
5. ติดตั้งเครื่องเสียงและลำโพงเพื่อทำเสียงเรียกนก ทั้งเสียงเรียกนอกและเสียงเรียกใน ควรแยกเครื่องเสียงชุดเสียงเรียกนอกและชุดเสียงเรียกในคนละชุดกัน
6. ปรับปรุงผนังอาคารด้านที่โดนความร้อนอย่าให้ความร้อนระบายเข้าสู่ภายในรัง โดยใช้ฉนวนกันความร้อนหรือวัสดุต่างๆที่เหมาะสม รวมถึงหลังคาของอาคารด้วย
7. ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายนอกบ้านนกแอ่นให้ดูสวยงามสะอาดตา ไม่ทำลายบรรยากาศของเมืองที่สวยงาม
นี่คือส่วนที่ดัดแปลงที่ยังไม่ได้ลงลึกในรายละเอียดของแต่ละเรื่อง ในหัวข้อต่อๆไปจะลงรายละเอียดแต่ละเรื่องให้เห็นภาพและเข้าใจมากกว่านี้
นำเสนอโดย เทพชัย อริยะพันธุ์
ยินดีต้อนรับสู่ Swiftlet Lover Blog. เป็น blog/website สำหรับผู้สนใจการเลี้ยงและการทำบ้านนกแอ่น เป็นศูนย์กลางของข้อมูล ข่าวสาร และ วิชาการ เพื่อผู้สนใจชาวไทยโดยเฉพาะ นำเสนอ โดย อภิชาต อริยะพันธุ์(เทพชัย อริยะพันธุ์ อดีตผู้ก่อตั้ง) จังหวัดยะลา
Thursday, March 13, 2008
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดยะลา
หลักเมืองยะลา
วัดคูหาภิมุข
พระมหากัจจายนะ
วัดพุทธาธิวาส
เขื่อนบางลาง
วิถีชีวิตของชาวบ้านรอบๆเมืองยะลา
อานิสงส์และบุญกุศลใดๆ
อานิสงส์ใดๆที่เกิดขึ้นจากการได้มีโอกาสเผยแพร่ข้อมูล ความรู้ ข่าวสารและวิชาการเกี่ยวกับการเลี้ยงและทำบ้านนกแอ่น ขอมอบแด่ คุณพ่อสุนันท์-คุณแม่อำนวย อริยะพันธุ์ พี่กัญญา ศรีสวัสดิ์และครอบครัว พี่ดวงพร เพชรโชติและครอบครัว น้องนิชา สุตะเมืองและครอบครัว คุณอ้อย(ภรรยา) น้องหนึ่ง(ลูกชาย) น้องฟรังก์(ลูกสาว) น้องดิว(ลูกสะใภ้) น้องพีร์(หลานชาย) ตลอดจนคณาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประศาสตร์วิชาความรู้ให้แก่ศิษย์โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ขอบุญกุศลแห่งวิทยาทานทั้งหมดที่ข้าพเจ้าได้กระทำจงมีแด่ทุกท่านที่ข้าพเจ้าได้เคยรู้จักและเกี่ยวข้อง ให้ประสพแต่ความสุข ความเจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฎิภานธนสารสมบัติทุกประการเทอญ เทพชัย อริยะพันธุ์
No comments:
Post a Comment