การเริ่มต้นที่จะทำบ้านนกแอ่น สำหรับท่านที่ยังไม่มีข้อมูลใดๆเป็นเรื่องที่ยากมากๆสำหรับท่าน ไม่รู้จะเริ่มต้นนับหนึ่งอย่างไรดี ข้อมูลที่ถูกต้องก็หายาก ถามคนนู้นถามคนนี้ก็ไม่มีคำตอบที่ชัดเจน แต่เรื่องราวเกี่ยวกับธุรกิจบ้านนกแอ่นมันโน้มน้าวจิตใจให้อยากทำอยากมีบ้านนกแอ่น เมื่ออยากทำอยากมีบ้านนกแอ่นเป็นของตนเอง ก็เริ่มสอบถามค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ จนทำให้ได้เจอ "ที่ปรึกษา" จากเว็บต่างๆ หรือจากช่างที่เคยได้มีโอกาสทำบ้านนกแอ่นมาบ้างแล้ว ได้เห็นภายในบ้านนกแอ่นว่าเป็นอย่างไร ก็เลยเปลี่ยนตัวเองเป็น "ที่ปรึกษา" เสียเลย ถามว่า "ที่ปรึกษา" เหล่านี้ท่านได้รู้จักพื้นฐานความรู้เรื่องบ้านนกแอ่นของเขาอย่างเพียงพอหรือไม่ เขาพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้เรื่องบ้านนกแอ่นให้ท่านได้หรือไม่ แนะนำการดูแลบ้านนกแอ่นให้ท่านเมื่อบ้านนกแอ่นสร้างเสร็จแล้วหรือไม่ ตอบได้เลยว่าท่านเองก็ไม่มีความมั่นใจใน "ที่ปรึกษา" เหล่านี้ แต่เมื่ออยากจะทำอยากจะมีบ้านนกแอ่นเป็นของตนเอง ท่านก็จำเป็นต้องจ้าง "ที่ปรึกษา" เหล่านี้
การเป็น "ที่ปรึกษา" นั้นรายได้ดีเงินดีมาก ปกติค่าปรึกษาจะอยู่ที่หลังละประมาณ 300,000 - 500,000 บาท แล้วแต่จะตกลงกัน "ที่ปรึกษา" จะมีทั้งที่เป็นคนไทย คนมาเลย์ และ คนอินโดฯ คนมาเลย์จะมากกว่าเพื่อนเพราะเข้ามาด้วยวีซ่านักท่องเที่ยวและสามารถมาทำมาหากินเป็น "ที่ปรึกษา" ได้ด้วย มีทั้งที่รู้จริงและรู้ไม่จริง ที่ผมกล้าพูดเช่นนี้เพราะตั้งแต่ผมทำ Blog Site แห่งนี้ ผมได้ข้อมูลจากท่านผู้อ่านที่เล่าปัญหาต่างๆไปให้ผมได้รับฟังรับรู้ ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้แก่กันและกัน ได้รับฟังถึงสภาพภายในบ้านนกแอ่นในที่ต่างๆหลายแห่งที่มีปัญหา ที่เกิดจากการจ้าง "ที่ปรึกษา" เหล่านี้ จะหาได้น้อยมากที่ติดตามผลอย่างจริงจัง ส่วนใหญ่จะรับค่าปรึกษาแล้วก็หายไปเลย ถ้าจะให้ช่วยดูแลติดตามผลให้ก็ต้องมีสัญญาที่จะต้องให้ส่วนแบ่ง จะต้องมีเอี่ยวในการเก็บรังนกทุกครั้ง 30 % และมักจะอ้างเหตุผลว่าการดูแลมีค่าใช้จ่าย ค่าเดินทาง ค่าฮอร์โมนต่างๆที่ต้องมาฉีดให้ สารพัดข้ออ้างที่เจ้าของบ้านนกแอ่นใหม่ต้องยอมเขา เพราะเราไม่มีข้อมูลความรู้ มีหลายรายที่ยอมรับเงื่อนไขกลายเป็นสัญญาที่จำยอม(สัญญาทาส) 30 ปี เมื่อไม่สบายใจและสอบถามมาที่ผม ผมก็แนะนำให้เลิกสัญญา ไม่ต้องมาดูแลติดตามผลให้แล้วจะดูแลเอง ผมพร้อมจะให้ข้อมูลทุกอย่างที่ผมรู้แก่เขาแทน "ที่ปรึกษา" การบอกเลิกสัญญาไม่ต้องไปเกรงใจเขาหรอกเพราะเขาเอาเปรียบเรา เราลงทุนทุกบาททุกสตางค์ ยังต้องให้เขามามีเอี่ยวกับการเก็บรังนกทุกครั้ง มันเกินไปจริงๆ นี่คือจุดอ่อนที่ผู้ที่อยากทำอยากมีบ้านนกแอ่นเป็นของตนเองแต่ไม่มีความรู้ ระยะหลังๆนี้ Blog Site ของผมได้ช่วยให้ผู้ที่อยากทำอยากมีบ้านนกแอ่นเป็นของตนเองได้มีความรู้เพิ่มขึ้นเยอะ จะจ้าง "ที่ปรึกษา" ก็คุยได้ง่ายขึ้น มีชั้นมีเชิงไม่ถูกเอาเปรียบได้ง่ายๆ มีความรู้ที่ "ที่ปรึกษา" ไม่สามารถหลอกได้
ผมเองไม่เคยทำตัวเป็น "ที่ปรึกษา" เพราะผมไม่เคยคิดค่าปรึกษา ผมใช้คำว่าการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้แก่กันและกัน ผมเองยังค้นหาข้อมูลความรู้เรื่องบ้านนกแอ่นอยู่ตลอดเวลา ยังสนุกกับการได้ข้อมูลใหม่ๆตลอดเวลา ปัญหาของบ้านนกแอ่นแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน การแก้ไขก็ต่างกัน จึงมีอะไรที่ใหม่ๆให้เรียนรู้ตลอดไป ผมอยากเป็น "ผู้เชี่ยวชาญ" มากกว่าเป็น "ที่ปรึกษา" อยากเป็น "ผู้ให้ความรู้" มากกว่าเป็นผู้ "รับค่าปรึกษา"
ผมคงไม่เป็นผู้ที่สร้างปัญหาให้แก่ท่าน และไม่เป็น "ที่ปรึกษา" ที่รับค่าปรึกษาจากท่าน แต่ผมจะเป็นเพื่อนคุยของท่านในยามที่ท่านมีปัญหาเรื่องบ้านนกแอ่น ขอให้ท่านเจอ "ที่ปรึกษา" ที่ดีๆมีน้ำใจ ไม่เอาเปรียบท่าน ขอให้ทุกท่านโชคดี
นำเสนอโดย เทพชัย อริยะพันธุ์
ยินดีต้อนรับสู่ Swiftlet Lover Blog. เป็น blog/website สำหรับผู้สนใจการเลี้ยงและการทำบ้านนกแอ่น เป็นศูนย์กลางของข้อมูล ข่าวสาร และ วิชาการ เพื่อผู้สนใจชาวไทยโดยเฉพาะ นำเสนอ โดย อภิชาต อริยะพันธุ์(เทพชัย อริยะพันธุ์ อดีตผู้ก่อตั้ง) จังหวัดยะลา
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดยะลา
หลักเมืองยะลา
วัดคูหาภิมุข
พระมหากัจจายนะ
วัดพุทธาธิวาส
เขื่อนบางลาง
วิถีชีวิตของชาวบ้านรอบๆเมืองยะลา
อานิสงส์และบุญกุศลใดๆ
อานิสงส์ใดๆที่เกิดขึ้นจากการได้มีโอกาสเผยแพร่ข้อมูล ความรู้ ข่าวสารและวิชาการเกี่ยวกับการเลี้ยงและทำบ้านนกแอ่น ขอมอบแด่ คุณพ่อสุนันท์-คุณแม่อำนวย อริยะพันธุ์ พี่กัญญา ศรีสวัสดิ์และครอบครัว พี่ดวงพร เพชรโชติและครอบครัว น้องนิชา สุตะเมืองและครอบครัว คุณอ้อย(ภรรยา) น้องหนึ่ง(ลูกชาย) น้องฟรังก์(ลูกสาว) น้องดิว(ลูกสะใภ้) น้องพีร์(หลานชาย) ตลอดจนคณาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประศาสตร์วิชาความรู้ให้แก่ศิษย์โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ขอบุญกุศลแห่งวิทยาทานทั้งหมดที่ข้าพเจ้าได้กระทำจงมีแด่ทุกท่านที่ข้าพเจ้าได้เคยรู้จักและเกี่ยวข้อง ให้ประสพแต่ความสุข ความเจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฎิภานธนสารสมบัติทุกประการเทอญ เทพชัย อริยะพันธุ์
No comments:
Post a Comment