การทำบ้านนกแอ่น ความมืดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่มีผลต่อความรู้สึกของนกแอ่น นกแอ่นรู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่ในที่มืด เพราะความมืดทำให้ศัตรูมองไม่เห็นรังที่อยู่ของเขา การทำบ้านนกแอ่นคือการเรียนแบบจากสภาพของถ้ำนกแอ่น บ้านนกแอ่นควรมีความมืดใกล้เคียงกับถ้ำนกแอ่น เรามักจะได้ยินการพูดถึงค่าความมืดเป็นหน่วย "ลักซ์" (Lux) ตำราเกี่ยวกับบ้านนกแอ่นหลายเล่มมักกล่าวถึงค่าความมืดที่บ้านนกแอ่นควรจะทำให้ได้ คือ ประมาณ 2 - 3 ลักซ์
ค่าความมืดประมาณ 2 - 3 ลักซ์ ถ้าท่านไม่มีเครื่องวัดแสงท่านจะประมาณได้อย่างไร? เอาง่ายๆแบบประหยัดแบบไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องวัดแสงมาวัด เพราะซื้อมาแล้วก็เอามาเก็บ ไม่ได้วัดทุกวัน ใช้ไม่คุ้มค่าเกินความจำเป็น ให้ท่านทำดังนี้ ท่านวางกระดาษขาวขนาด A4 ลงบนพื้นห้องของบ้านนกแอ่นที่ท่านจะวัดความมืด หากมองไม่เห็นกระดาษขาวA4 ก็แสดงว่า บ้านนกแอ่นของท่านมืดสนิท หากเห็นเพียงรางๆก็แสดงว่าบ้านนกแอ่นของท่านมีค่าของความมืดประมาณ 2 - 6 ลักซ์ จะมืดหรือสว่างก็อยู่ที่การปิดกั้นแสงของท่านว่าทำได้ดีขนาดไหน
สำหรับท่านที่มีโอกาสได้เข้าเยี่ยมชมบ้านนกแอ่นหลายๆแห่งถือเป็นผู้ที่มีโอกาสดีเยี่ยม การเข้าดูภายในบ้านนกแอ่นหลายๆแห่ง คือการเรียนรู้ที่ดีที่สุด ท่านสามารถเห็นความแตกต่างของบ้านนกแอ่นแต่ละหลัง บางบ้านความมืดไม่มากแต่นกแอ่นอยู่อาศัยและทำรังมากมาย บางบ้านความมืดดีมาก 2 - 3 ลักซ์พอดี แต่มีนกอยู่อาศัยและทำรังน้อย อะไรคือความถูกต้องในเรื่องของแสงสว่างและความมืด
การทำบ้านนกแอ่นให้ได้ความมืดที่เหมาะสม จึงขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ ขึ้นอยู่กับบ้านนกแอ่นหลังแรกๆในพื้นที่นั้นว่ามีสภาพความมืดภายในบ้านเป็นอย่างไร หากเราจะแบ่งลูกนกแอ่นจากเขา เราก็ควรทำบ้านนกแอ่นของเราให้มีความมืดเหมือนเขา ถ้าทำไม่ได้ก็ยากที่จะได้ลูกนกแอ่นจากเขา เราจึงเห็นว่าบางบ้านนกแอ่นสำเร็จในเวลาอันรวดเร็ว บางบ้านนกแอ่นใช้เวลาเป็นปีๆกว่าจะสำเร็จ นี่เพียงแค่ปัญหาเรื่องแสงสว่างและความมืดเท่านั้น หากนำเรื่องอื่นๆ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ช่องทางเข้า-ออก วงบิน เสียงเรียกนก ฯลฯ มาหาข้อยุติทีละเรื่อง ก็มีให้คิดอีกมากมาย ผู้ที่ทำบ้านนกแอ่นใหม่ๆยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ ย่อมมีโอกาสที่จะล้มเหลวได้ง่าย การหาข้อมูลอย่างรอบคอบรอบด้านของแต่ละพื้นที่จึงสำคัญยิ่ง เป็นข้อมูลของความสำเร็จของท่านเอง
เราจะเห็นว่าผู้ที่เคยทำบ้านนกแอ่นสำเร็จสูงสุดแล้วในพื้นที่หนึ่ง พอไปทำบ้านนกแอ่นในอีกพื้นที่หนึ่ง โดยลอกแบบ 100% จากบ้านนกแอ่นหลังเดิมไปทำ กลับพบกับความล้มเหลว
คนหรือนกแอ่นก็เหมือนกัน หากอยู่ในสภาพเดิมที่เคยชินเป็นเวลานาน อยู่ๆให้ท่านต้องมาเปลี่ยนความคุ้นเคยเดิมๆ ท่านก็ไม่ชอบแน่นอน นกแอ่นก็เช่นกัน ชอบความคุ้นเคยแบบเดิมๆ ดังนั้นการทำบ้านนกแอ่นให้ประสบความสำเร็จ เรื่องแสงสว่างและความมืดภายในบ้านนกแอ่น จึงควรทำแบบผสมไว้ คือส่วนที่มืดที่สุดก็มี อยู่ลึกเข้าไปในสุดของตัวบ้านหรือบินมุดลงชั้นล่างๆ ส่วนที่สว่างก็มีอยู่ใกล้ๆช่องทางเข้า-ออก ส่วนที่สลัวๆก็มีอยู่กลางๆห้องถัดจากช่องทางเข้า-ออก หากท่านทำได้ดังนี้ท่านจะผิดพลาดน้อย นกแอ่นชอบแบบไหนเขาจะได้เลือกจุดทำรังตามใจเขา
นำเสนอโดย เทพชัย อริยะพันธุ์
ยินดีต้อนรับสู่ Swiftlet Lover Blog. เป็น blog/website สำหรับผู้สนใจการเลี้ยงและการทำบ้านนกแอ่น เป็นศูนย์กลางของข้อมูล ข่าวสาร และ วิชาการ เพื่อผู้สนใจชาวไทยโดยเฉพาะ นำเสนอ โดย อภิชาต อริยะพันธุ์(เทพชัย อริยะพันธุ์ อดีตผู้ก่อตั้ง) จังหวัดยะลา
Tuesday, November 11, 2008
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดยะลา
หลักเมืองยะลา
วัดคูหาภิมุข
พระมหากัจจายนะ
วัดพุทธาธิวาส
เขื่อนบางลาง
วิถีชีวิตของชาวบ้านรอบๆเมืองยะลา
อานิสงส์และบุญกุศลใดๆ
อานิสงส์ใดๆที่เกิดขึ้นจากการได้มีโอกาสเผยแพร่ข้อมูล ความรู้ ข่าวสารและวิชาการเกี่ยวกับการเลี้ยงและทำบ้านนกแอ่น ขอมอบแด่ คุณพ่อสุนันท์-คุณแม่อำนวย อริยะพันธุ์ พี่กัญญา ศรีสวัสดิ์และครอบครัว พี่ดวงพร เพชรโชติและครอบครัว น้องนิชา สุตะเมืองและครอบครัว คุณอ้อย(ภรรยา) น้องหนึ่ง(ลูกชาย) น้องฟรังก์(ลูกสาว) น้องดิว(ลูกสะใภ้) น้องพีร์(หลานชาย) ตลอดจนคณาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประศาสตร์วิชาความรู้ให้แก่ศิษย์โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ขอบุญกุศลแห่งวิทยาทานทั้งหมดที่ข้าพเจ้าได้กระทำจงมีแด่ทุกท่านที่ข้าพเจ้าได้เคยรู้จักและเกี่ยวข้อง ให้ประสพแต่ความสุข ความเจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฎิภานธนสารสมบัติทุกประการเทอญ เทพชัย อริยะพันธุ์
No comments:
Post a Comment